ประวัติ ของ จันทรุปราคา เมษายน พ.ศ. 2557

ดูบทความหลักที่: จันทรุปราคา

จันทรุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเงาของโลก เมื่อเริ่มเกิดคราสขึ้น เงาของโลกที่ดวงจันทร์สัมผัสครั้งแรกจะทำให้ดวงจันทร์มืดลงเล็กน้อย เงามืดจะเริ่ม "ครอบคลุม" ส่วนของดวงจันทร์ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งดวงจันทร์เริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง-น้ำตาลเข้ม (ซึ่งสีที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพของชั้นบรรยากาศ) ดวงจันทร์จะปรากฏเป็นสีแดงเพราะการกระเจิงแสงของเรย์ลี (Rayleigh scattering) (เช่นเดียวกับการที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเป็นสีแดงในขณะตก) และการหักเหแสงจากชั้นบรรยากาศโลกไปที่เงาบนดวงจันทร์[2]

การจำลองการเกิดปรากฏการณ์แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ปรากฏโดยประมาณของดวงจันทร์ผ่านในเงาของโลก บริเวณตำแหน่งทางเหนือของดวงจันทร์จะอยู่ใกล้เคียงกับศูนย์กลางของเงาทำให้เป็นจุดที่มืดที่สุด และส่วนใหญ่ของดวงจันทร์จะปรากฏเป็นสีแดง

แบบจำลองการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาขณะที่ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนผ่านเงามืดของโลก

ใกล้เคียง

จันทรุปราคา จันทรุปราคา มกราคม พ.ศ. 2561 จันทรุปราคา กันยายน พ.ศ. 2558 จันทรุปราคา เมษายน พ.ศ. 2557 จันทรุปราคา กรกฎาคม พ.ศ. 2561 จันทรุปราคา เมษายน พ.ศ. 2558 จันทรุปราคา มีนาคม พ.ศ. 2549 จันทรุปราคาเต็มดวง ธันวาคม พ.ศ. 2553 จันทรุปราคา กรกฎาคม พ.ศ. 2563 จันทรุปราคา ตุลาคม พ.ศ. 2556

แหล่งที่มา

WikiPedia: จันทรุปราคา เมษายน พ.ศ. 2557 http://astrobob.areavoices.com/2014/02/03/sneak-pe... http://www.mreclipse.com/Special/LEprimer.html http://www.usatoday.com/story/tech/2014/04/03/luna... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/LEcat5/appearance.htm... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/OH/OH2014.html#LE2014... http://www.alpo-astronomy.org/jbeish/2014_MARS.htm http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/201... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Lunar_...